วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันครู

The Teacher’s Day
In 1956 Prime Minister Field Marshal P. Pibulsongkram, who was the Honorary Chairman of the Board of Directors of the Teachers’ Council at that time, addressed a gathering of teachers from throughout the country and suggested that as teachers were our benefactors and persons who gave light to our life they should have a day of their own so that their students would get an opportunity to pay respect to them. He continued, “On other auspicious days such as New Year’s Day and the Songkran Festival we pay a tribute to both our living and dead relatives and make merit in dedication to their souls. Since our teachers play an important role next to our parents, I would like to propose the idea to this gathering and ask you to consider it in principle. I hope no one will object to this idea.”
As a result of his remarks and the welcoming opinions expressed by the teachers through the media, which reported that a Teachers’Day should be held in order to remember their significance as the ones who make a great sacrifice and do good deeds for the benefit of the nation and the people as a whole. The Teachers’ Council unanimously agreed to set up Teachers’ Day in order to hold a ceremony to pay a tribute to the teachers, to promote unity among teachers and to promote better understanding between teachers and the general public.
Thus, on November 21, 1956, the Cabinet passed a resolution to announce January 16 of every year as Teachers’ Day and it was celebrated for the first time on January 16, 1957. The event has been held since then and is held nationwide. The highlights of the day include religious activities, a ceremony of paying respect to teachers and activities to strengthen unity among teachers.
To express our gratitude to the teachers, we wish them and their families happiness and a good health throughout their long life.


วันครู
ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในสมัยนั้นได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศและได้เสนอแนะว่า “เนื่องจากครูเป็นผู้มีบุญคุณและเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ครูจึงควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้มีโอกาสแสดงความเคารพสักการะ จะเห็นว่าในวันสำคัญอื่น ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์ พวกเราก็จะแสดงความเคารพสักการะต่อญาติๆ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วยและเนื่องจากครูของพวกเรามีบทบาทสำคัญถัดจากบิดามารดาข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะเสนอความคิดนี้ ต่อที่ประชุมนี้และขอร้องให้พวกท่านนำไปพิจารณาในหลักการ หวังว่าทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชน ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาจึงมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อที่จะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 16 มกราคม ของทุก ๆ ปีเป็น “วันครู” และการจัดงานวันครูได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และได้ดำเนินเรื่อยมาทุกปีนับแต่บัดนั้นมาโดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมหลักในวันนั้นประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครู พวกเราจึงขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุข ความเจริญและมีสุขภาพแข็งแรงตราบชั่วอายุไขอันยาวนาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น