วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

นวัตกรรม และระบบสารสนเทศองค์การ

1.นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ความหมายของเทคโนโลยี ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
· ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯโดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
· ห้องเรียนเสมือนจริง
ความหมาย การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาสถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง
ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP
มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)
· สื่อหลายมิติิ
ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน


เทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารการศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสาสนเทศ (Information systems conceptual)
ข้อมูล (Data)
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
สารสนเทศ (Information)
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลเกิดจาก Raw Facts สารสนเทศเกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลทีผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศคือการประมวลผล (process) แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้
Data Process Information
คุณสมบัติสารสนเทศที่ดี
- มีความถูกต้อง (accuracy)
- มีความสมบูรณ์ (completeness)
- ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
- มีความทันสมัย (up to date)
- ตรวจสอบได้ (verifiable)
- ความประหยัด (economics)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- สามารถเผยแพร่ได้ (presentation)
- ความง่าย (simple)
- ทันกับความต้องการ (timeliness)
องค์ประกอบสานสนเทศ
- นำข้อมูลมาเป็นตัวป้อน data=input
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ฐานข้อมูล (Database)
- ระบบการควบคุม
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- บุคลากร
- ผู้ใช้งาน
เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในองค์กรเพิ่มขึ้น ได้เปรียบในการแข่งขันทางการผลิต
- เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ
- ผลิตสิ่งใหม่
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- ดึงดูดลูกผ้า ผู้ที่สนใจ

การออกแบบองค์กรใหม่ในสถานศึกษาโดยใช้ระบบสารสนเทศ

เทคโนโลยี่สำหรับการศึกษาสมัยใหม่ ( Information Technology for Modern Education)
- การจัดการเรียนกานสอนบนเว็บ เพื่อขจัดปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานเนื้อหาการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา เปิดช่องทางการเรียนตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
- บทเรียนออนไลน์อินเตอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือผ่าน CD-ROM หรือสัญญาณโทรศัพท์ ดาวเทียม
ลักษณะของบทเรียนออนไลน์
1.1 Real-time
การพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันหรือ chat room
1.2 Non real-time, email, webboard, News-group
- อินเตอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณภาพเสียง ผ่านเครือข่ายทาง Internet หรือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลจำนวนมากของภาพเสียงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่าย Internet ด้วยการบีบอัดสัญญาณ ชื่อที่คล้ายๆ ทำงานในทำนองเดียวกันคือ Cybercasting, Netcasting, Webcasting, Unicasting
- ห้องสมุดเสมือน

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลาง (Transmission Media) ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์ที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปเช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Message) มีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ (Text) เสียง (Voice) รูปภาพ (Image) สื่อผสม (Multimedia)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณเช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ระบบโทรคมนาคม
การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงก่อนการโทรคมนาคมมีขีดจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารโดยเป็นเสียงคนผ่านสายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเชื่อกันว่าการพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมได้มาถึงช่วงกลาง โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่ว
ชนิดของสัญญาณ
— สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์เป็นต้น
— สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน และติดต่อสื่อสารกัน
อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
HARDWARE
1. NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ด ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร
2. HUB เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการต่อสายLAN แบบ UTP มี PORT เป็น 8,16 ,24
3. Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายจะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณเช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
4. Switching Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
SOFTWARE
ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายเรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s Netware OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, Apple share, Unix ,Linux etc.
ตัวกลางนำสัญญาณ ตัวกลางที่ใช้ในระบบเครือข่าย สามารถเป็นได้ หลายชนิด เช่น Coaxial cable, UTP, Fiber Optic และคลื่นวิทยุที่ใช้กับ Wireless LAN
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN: Personal Area Network)
2. เครือข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network)
3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN: Metropolitan Area Network)
4. เครือข่ายระยะไกลระดับประเทศ (WAN : Wide Area Network)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น