วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทความภาษาไทย


"กบในกะลาครอบ"
จากบทความ ฝ่าเปลวแดด ผู้เขียน ดาวประกายพรึก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ ๒๑,๘๑๔ วันเสาร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ หน้า ๘ ชื่อบทความ "กบในกะลาครอบ"
พูดถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจ ๒ แห่ง การไฟฟ้านครหลวง กับการประปานครหลวง มีงานมั่นคง สวัสดิการเพียบ ที่ กฟน. เงินเดือนเฉลี่ยพนักงานทั่วไปคือ ๓ หมื่นกว่าบาท ส่วนผู้บริหาร เงินเดือนทะลุแสนต้น ๆถึงแสนปลาย ๆเปรียบเทียบแรงงานกว่า ๑,๙๐๐ คน ของโรงงานไทรอัมพ์ กำลังตกงานเพราะบริษัทอ้าง ต้องลดขนาดองค์กร เนื่องจากคำสั่งซื้อน้อยลง ภาวะที่รัฐบาลถังแตก มองยังไงจึงไร้เหตุผลที่จะให้ค่าครองชีพกับคนเงินเดือนต่ำกว่า ๕ หมื่นกว่าบาทลงมาทุกคน คนละ ๒,๐๐๐ บาทเป็นเวลา ๑ ปี และรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ อีก ๗ แห่งก็จะเอาตาม เข้ายุค มือใครยาวสาวงได้สาวเอา ที่ท่านนายกไม่ยอมจึงถูกต้องแล้ว เอาแต่พอดีเถอะพ่อคุณ รู้จักอยู่แบบพอเพียง มองออกไปรอบตัวบ้างเถอะ อย่าทำตัวแบบ กบในกะลาครอบ
จากบทความข้างต้น เป็นหัวข้อข่าวที่นักเรียนออกมาเล่า ที่มีสำนวนที่ชวนคิด คือ
มือใครยาวสาวได้สาวเอา หมายถึง ต่างคนต่างฉวยโอกาสแสวงหาประโยชน์ใส่ตัว ... กบในกะลาครอบ หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้และประสบการณ์ ...คนที่ขาดวิสัยทัศน์มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น

(ที่มาภาพ http://pasathai01.exteen.com/20070120/entry)
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จึงได้วิเคราะห์ความหมายของสำนวนในบทความ และศึกษาใบความรู้
สำนวน คือ ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีความหมายพิเศษ ไม่ครงกับความหมายที่ใช้ตามปกติ ทั้งนี้อาจจะเป็นคำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เป็นลักษณะคำพูดที่รวมใจความยาว ๆ ให้กะทัดรัด บางสำนวนอาจหมายถึงสุภาษิตและคำพังเพยด้วย เช่น
ลักษณะสำนวนไทย
๑. มีความหมายโดยนัย คือความหมายไม่ตรงตัวตามความหมายโดยอรรถ พูดอย่างหนึ่งมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น กินปูนร้อนท้อง - รู้สึกเดือดร้อนเพราะมีความผิดอยู่ ขนทรายเข้าวัด - ร่วมมือร่วมใจกันทำบุญ เป็นต้น
๒. ใช้ถ้อยคำกินความมาก การใช้ถ้อยคำในสำนวนส่วนใหญ่เข้าลักษณะใช้คำน้อยกินความมาก เนื้อความมีความหมายเด่น เช่น ก่อหวอด ขึ้นคาน คว่ำบาตร ขมิ้นกับปูน คมในฝัก กิ้งก่าได้ทอง ใกล้เกลือกินด่าง เด็ดบัวไว้ใย ซึ่งล้วนมีความหมายอธิบายได้ยืดยาว ส่วนที่ใช้ถ้อยคำหลายคำ แต่ละคำก็ล้วนมีความหมายและช่วยให้ได้ความกระจ่างชัดเจน
๓. ถ้อยคำมีความไพเราะ การใช้ถ้อยคำในสำนวนไทยมักใช้ถ้อยคำสละสลวยมีสัมผัสคล้องจอง เน้นการเล่นเสียงสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ให้เสียงกระทบกระทั่งกัน เกิดความไพระน่าฟังทั้ง สัมผัสภายในวรรคและระหว่างวรรค มีการจัดจังหวะคำหลายรูปแบบ เช่น เป็นกลุ่มคำซ้อน ๔ คำ อย่าง ก่อกรรมทำเข็ญ ก่อร่างสร้างตัว คู่ผัวตัวเมีย คู่เรียงเคียงหมอน คำซ้อน ๖ คำ เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น ยุให้รำตำให้รั่ว ลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง คำซ้อน ๘ คำ หรือมากกว่าบ้าง เช่น ไก่งามเพราะขนคนงามเพราะแต่ง กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง กำแพงมีหูประตูมีตา เป็นต้น ลักษณะสัมผัสคล้องจองเป็นร้อยกรองง่ายๆ หลายรูปแบบ มีทั้งคล้องจองกันในข้อความตอนเดียว เช่น ตื่นก่อนนอนหลัง ต้อนรับขับสู้ ผูกรักสมัครใคร่ โอภาปราศรัย และคล้องจองในข้อ ความที่เป็น ๒ ตอน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและในข้อความมากกว่า ๒ ตอน เช่น น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เอาหูไปนา เอาตาไปไร่ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง เป็นต้น
๔. สำนวนไทยมักมีการเปรียบเปรย หรือมีประวัติที่มา ส่วนใหญ่มาจากการเปรียบเทียบกับ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ประเพณี ศาสนา นิยาย นิทานต่างๆ กิริยาอาการ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น กลับหน้ามือเป็นหลังมือ นอนตาไม่หลับ ใจดีสู้เสือ กินไข่ขวัญ ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง เป็นต้น
บ่อเกิดสำนวนไทย

(ที่มาภาพ http://www.thaigoodview.com )
ที่เกิดสำนวนไทยมีมูลเหตุจากหลายทางด้วยกัน เป็นต้นว่า เกิดจากธรรมชาติ เกิดจากการ กระทำ ความประพฤติ การกินอยู่ของคน เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เกิดจาก ศาสนา เกิดจากนิยาย นิทาน ตำนานหรือประวัติวัติศาสตร์ เกิดจากกีฬา การละเล่นหรือการ แข่งขันละมูลเหตุอื่นๆอีกซึ่งพอสรุปประการสำคัญ ๆ เป็นตัวอย่างได้ดังนี้
๑. เกิดจากธรรมชาติ เช่น ข้าวคอยฝน ฝนตกไม่ทั่วฟ้า คลื่นใต้น้ำ น้ำซึมบ่อทราย ไม้งามกระรอกเจาะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น
๒. เกิดจากสัตว์ เช่น ไก่แก่แม่ปลาช่อน ขี่ช้างจับตั๊กแตน ปลากระดี่ได้น้ำ วัวแก่เคี้ยวหญ้าอ่อน เสือซ่อนเล็บ หมาหยอกไก่
๓. เกิดจากการกระทำ ความประพฤติ การปฏิบัติและการกินอยู่ของคน เช่น ขึ้นต้นไม้ปะรังแตน ขึ้นต้นไม้ช่วยแรงคาถา ไกลปีนเที่ยง ปิดทองหลังพระ ชักใบให้เรือเสีย พายเรือคนละที นอนตาไม่หลับ หาเช้ากินค่ำ
๔. เกิดจากอวัยวะต่างๆ เช่น ใจลอย ตาเล็กตาน้อย ตีนเท่าฝาหอย ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม มืออยู่ไม่สุข หัวรักหัวใคร่
๕. เกิดจากของกินของใช้ เช่น ข้าวแดงแกงร้อน ไข่ในหิน ฆ้องปากแตก ผ้าขี้ริ้วห่อทอง ลงเรือลำเดียวกัน บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน
๖. เกิดจากแบบแผนประเพณีและวัฒนธรรม เช่น ช้างเท้าหลัง ตื่นก่อนนอนหลัง เข้าตามตรอกออกตามประตู เป็นทองแผ่นเดียวกัน ฝังรกฝังราก คนตายขายคนเป็น
๗. เกิดจากศาสนา เช่น กรวดน้ำคว่ำขัน ขนทรายเข้าวัด ตักบาตรถามพระ บุญทำกรรมแต่ง เทศน์ไปตามเนื้อผ้า ผ้าเหลืองร้อน
๘. เกิดจากนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น กระต่ายหมายจันทร์ กบเลือกนาย ชักแม่น้ำทั้งห้า ฤษีแปลงสาร ดอกพิกุลจะร่วง ปากพระร่วง
๙. เกิดจากการละเล่น กีฬาหรือการแข่งขัน เช่น ไก่รองบ่อน งงเป็นไก่ตาแตก รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ ว่าวขาดลมลอย
ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร
๑. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ เรียงที่เขียนขึ้น
๒. ทำให้ได้คติสอนใจ ในด้านต่างๆ เช่น
- ด้านการเรียน ตัวอย่างๆ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วม หัวเอาตัว ไม่รอด”
- ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้าน สร้างเมือง”
- ด้านการครองเรือน ตัวอย่าง “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
- ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน” “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
๓. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย” “แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา”
๔. เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ
ประเด็นคำถามที่นำไปอภิปราย
๑. อภิปรายลักษณะสำนวนไทย ๒. อภิปรายบ่อเกิดสำนวนไทย ๓. อภิปรายประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร ๔. รวบรวมสำนวนจัดทำเป็นหมวดหมู่
กิจกรรมเสนอแนะ
๑. คลิกดูแผนการจัดการเรียนรู้สำนวนภาษาไทย ๒. คลิกดูเอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องสำนวนภาษา
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ : เขียนสำนวนภาษาอังกฤษที่ตรงกับภาษาไทย คณิตศาสตร์ : เขียนสำนวนไทยที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สังคม : เขียนเรื่องเกี่ยวกับเศรฐกิจพอเพียง และระบุสำนวนไทย ศิลปะ : วาดภาพระบายสีสำนวนไทย วิทยาศาสตร์ : เขียนสำนวนไทยที่ตรงกับเรื่องทางวิทยาศาสตร์

วันครู

The Teacher’s Day
In 1956 Prime Minister Field Marshal P. Pibulsongkram, who was the Honorary Chairman of the Board of Directors of the Teachers’ Council at that time, addressed a gathering of teachers from throughout the country and suggested that as teachers were our benefactors and persons who gave light to our life they should have a day of their own so that their students would get an opportunity to pay respect to them. He continued, “On other auspicious days such as New Year’s Day and the Songkran Festival we pay a tribute to both our living and dead relatives and make merit in dedication to their souls. Since our teachers play an important role next to our parents, I would like to propose the idea to this gathering and ask you to consider it in principle. I hope no one will object to this idea.”
As a result of his remarks and the welcoming opinions expressed by the teachers through the media, which reported that a Teachers’Day should be held in order to remember their significance as the ones who make a great sacrifice and do good deeds for the benefit of the nation and the people as a whole. The Teachers’ Council unanimously agreed to set up Teachers’ Day in order to hold a ceremony to pay a tribute to the teachers, to promote unity among teachers and to promote better understanding between teachers and the general public.
Thus, on November 21, 1956, the Cabinet passed a resolution to announce January 16 of every year as Teachers’ Day and it was celebrated for the first time on January 16, 1957. The event has been held since then and is held nationwide. The highlights of the day include religious activities, a ceremony of paying respect to teachers and activities to strengthen unity among teachers.
To express our gratitude to the teachers, we wish them and their families happiness and a good health throughout their long life.


วันครู
ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ในสมัยนั้นได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศและได้เสนอแนะว่า “เนื่องจากครูเป็นผู้มีบุญคุณและเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ครูจึงควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้มีโอกาสแสดงความเคารพสักการะ จะเห็นว่าในวันสำคัญอื่น ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่และวันสงกรานต์ พวกเราก็จะแสดงความเคารพสักการะต่อญาติๆ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังมีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วยและเนื่องจากครูของพวกเรามีบทบาทสำคัญถัดจากบิดามารดาข้าพเจ้าจึงใคร่ที่จะเสนอความคิดนี้ ต่อที่ประชุมนี้และขอร้องให้พวกท่านนำไปพิจารณาในหลักการ หวังว่าทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชน ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาจึงมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อที่จะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 16 มกราคม ของทุก ๆ ปีเป็น “วันครู” และการจัดงานวันครูได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และได้ดำเนินเรื่อยมาทุกปีนับแต่บัดนั้นมาโดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมหลักในวันนั้นประกอบด้วยพิธีกรรมทางศาสนา พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์และกิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครู พวกเราจึงขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุข ความเจริญและมีสุขภาพแข็งแรงตราบชั่วอายุไขอันยาวนาน
การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

นวัตกรรม และระบบสารสนเทศองค์การ

1.นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ความหมายของเทคโนโลยี ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
(Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป - ชุดการเรียน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
· ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯโดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
· ห้องเรียนเสมือนจริง
ความหมาย การ เรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาสถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดน
การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง
ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น
การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในวงการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำ วันของชาวโลกคือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ ใน โลกเข้าด้วยกัน ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (Protocol) อย่างเดียวกันที่เรียกว่า TCP/IP
มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล (Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)
· สื่อหลายมิติิ
ความหมาย สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext) นี้มีมานานหลายสิบปีแล้ว โดย แวนนิวาร์ บุช (Vannevar Bush) เป็นผู้ ที่มีความคิดริเริ่มเกี่ยวกับเรื่องนี โดยเขากล่าวว่าน่าจะมีเครื่องมืออะไรสักอย่างที่ช่วยในเรื่อง ความจำและความคิดของมนุษย์ที่จะช่วยให้เราสามารถสืบค้นและเรียกใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ได้ หลาย ๆ ข้อมูลในเวลาเดียวกันเหมือนกับที่คนเราสามารถคิดเรื่องต่าง ๆ ได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน


เทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารการศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสาสนเทศ (Information systems conceptual)
ข้อมูล (Data)
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์
สารสนเทศ (Information)
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆ
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลเกิดจาก Raw Facts สารสนเทศเกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลทีผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศคือการประมวลผล (process) แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้
Data Process Information
คุณสมบัติสารสนเทศที่ดี
- มีความถูกต้อง (accuracy)
- มีความสมบูรณ์ (completeness)
- ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
- มีความทันสมัย (up to date)
- ตรวจสอบได้ (verifiable)
- ความประหยัด (economics)
- ความยืดหยุ่น (flexibility)
- สามารถเผยแพร่ได้ (presentation)
- ความง่าย (simple)
- ทันกับความต้องการ (timeliness)
องค์ประกอบสานสนเทศ
- นำข้อมูลมาเป็นตัวป้อน data=input
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ฐานข้อมูล (Database)
- ระบบการควบคุม
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์
- บุคลากร
- ผู้ใช้งาน
เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในองค์กรเพิ่มขึ้น ได้เปรียบในการแข่งขันทางการผลิต
- เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ
- ผลิตสิ่งใหม่
- การสร้างโอกาสทางธุรกิจ
- ดึงดูดลูกผ้า ผู้ที่สนใจ

การออกแบบองค์กรใหม่ในสถานศึกษาโดยใช้ระบบสารสนเทศ

เทคโนโลยี่สำหรับการศึกษาสมัยใหม่ ( Information Technology for Modern Education)
- การจัดการเรียนกานสอนบนเว็บ เพื่อขจัดปัญหาขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับการยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างมาตรฐานเนื้อหาการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา เปิดช่องทางการเรียนตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
- บทเรียนออนไลน์อินเตอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือผ่าน CD-ROM หรือสัญญาณโทรศัพท์ ดาวเทียม
ลักษณะของบทเรียนออนไลน์
1.1 Real-time
การพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารถึงกันหรือ chat room
1.2 Non real-time, email, webboard, News-group
- อินเตอร์เน็ตบรอดแคสติ้ง เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณภาพเสียง ผ่านเครือข่ายทาง Internet หรือเป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลจำนวนมากของภาพเสียงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่าย Internet ด้วยการบีบอัดสัญญาณ ชื่อที่คล้ายๆ ทำงานในทำนองเดียวกันคือ Cybercasting, Netcasting, Webcasting, Unicasting
- ห้องสมุดเสมือน

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลาง (Transmission Media) ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์ที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปเช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Message) มีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ (Text) เสียง (Voice) รูปภาพ (Image) สื่อผสม (Multimedia)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณเช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
ระบบโทรคมนาคม
การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงก่อนการโทรคมนาคมมีขีดจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารโดยเป็นเสียงคนผ่านสายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเชื่อกันว่าการพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมได้มาถึงช่วงกลาง โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่ว
ชนิดของสัญญาณ
— สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์เป็นต้น
— สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน และติดต่อสื่อสารกัน
อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
HARDWARE
1. NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ด ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร
2. HUB เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการต่อสายLAN แบบ UTP มี PORT เป็น 8,16 ,24
3. Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายจะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณเช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
4. Switching Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
SOFTWARE
ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายเรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s Netware OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, Apple share, Unix ,Linux etc.
ตัวกลางนำสัญญาณ ตัวกลางที่ใช้ในระบบเครือข่าย สามารถเป็นได้ หลายชนิด เช่น Coaxial cable, UTP, Fiber Optic และคลื่นวิทยุที่ใช้กับ Wireless LAN
ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN: Personal Area Network)
2. เครือข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network)
3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN: Metropolitan Area Network)
4. เครือข่ายระยะไกลระดับประเทศ (WAN : Wide Area Network)


ประวัติส่วนตัว



ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ นางจิราภรณ์ ศิริพัฒน์ เกิดวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2507
บรรจุวันที่ 22 มีนาคม 2536 ตำแหน่งปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนที่ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน โรงเรียนบ้านนาดีทุ่งเจริญ สพท.อบ.1 ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 43140 โทรศัพท์ 045-370-448
ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 107 หมู่ที่ 4 ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
สถานภาพ สมรส คู่สมรส นายวรชัย ศิริพัฒน์ ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านหัวเรือ สพท.อบ.1 อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันเด็ก

วันเด็กแห่งชาติ
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง โดยปกติอายุของเด็กที่เข้าร่วมฉลองในงานนี้จะต่ำกว่า 14 ปี
เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ เด็กควรจะมีความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ช่วยเหลือกันและกัน เสียสละรู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสาธารณสมบัติ ถ้าหากเด็กตระหนักถึงอนาคตของตนเองและของชาติโดยการปฏิบัติตนตามที่กล่าวมานั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น “เด็กดี” และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง
ในขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ จึงได้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนแล้วและเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ดังนั้นจึงถือปฏิบัติมาจนถึงวันนี้
ในการจัดงานวันเด็กแห่งชาตินั้น ทางรัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งทางภาครัฐและเอกชนเพื่อจะได้จัดฉลองพร้อมกันทั่วทั้งประเทศโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองมีระเบียบวินัย ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความภูมิใจในชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ทุกๆ ปี ในวันนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจา ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อย ๆ ว่า “เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ” ดังนั้นเด็ก ๆ จึงควรถามตนเองว่าตนเป็นเด็กดีหรือไม่
ในวันนี้สถานที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น สวนสัตว์ดุสิต กองทัพบก กองทัพเรือ และฐานทัพอากาศ ทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภาต่างก็เปิดให้เด็กๆ เข้าชม ดังนั้นเด็กๆ ต่างก็คอยให้ถึงวันเด็กเร็ว ๆ


National Children’s Day
Children are considered as the most valuable resources of the nation. They are a powerful force in the development and stability of the nation. Normally, the age of children taking part in the celebrations should be less than 14 years old.
To prepare themselves to be strength of the nation, children should be industrious in their study, make use of their time wisely, being disciplined, diligent, helpful to each other, unselfish, being aware of right and duty and responsible towards the society. In addition, they should keep the country clean and conserve the natural environment and public property. If children are aware of their own future and of the nation by behaving in such a way, they will be called “Worthy Children” and the country will be prosperous.
At the same time, to stimulate children to be aware of their significant role in the country, the National Children’s Day was held for the first time on the first Monday of October 1955 and continued until 1963. Then it was changed to the second Saturday of January as at this time the rainy season is over and it is a government holiday. This is still in practice today.
The government has set up an organising committee to co-ordinate with several agencies in both public and private sectors to organise the celebration simultaneously throughout the country. The objectives are to enable children to realize their importance, to be disciplined, being aware of right and duty, responsibility towards the society, be proud of their country, Religion and Monarchy, and believe in a democratic system having the King as the head of state.
Every year on this day, His Majesty the King gives an advice while the Supreme Patriarch gives a moral teaching. The Prime Minister also gives a slogan. This indicates that children are the most valuable resource of the nation. We often hear the saying that, “Children are the future of the nation, if the children are intelligent, the country will be prosperous.” Therefore, children should ask themselves whether they are worthy children or not.
On this day, many interesting places such as the Duzit Zoo, the Army, Navy, and Airforce bases, Government House and Parliament House are opened for children to visit. Thus, all children look forward to National Children’s Day.